หัวข้อการสัมมนา
- คำจำกัดความ คำว่า “ของต้องห้าม / ของต้องกำกัด” ตามกฎหมายศุลกากร และ เครื่องมือเบื้องต้นในการตรวจสอบของที่ต้องขออนุญาตนำเข้า-ส่งออก
- ราคาศุลกากร สำหรับการนำเข้า / การส่งออก
- การขอคืนอากรตามกฎหมายศุลกากรที่ว่า สามารถขอคืนได้โดยไม่ต้องแจ้งความไว้ต่อศุลกากรก่อนนำออกจากอารักขาศุลกากร จะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร
- ของที่นำเข้า-ส่งออก มีภาระที่จะต้องมาชำระอากรกับกรมศุลกากรทุกกรณีหรือไม่ อายุความในการติดตามค่าภาษีอากรของกรมศุลกากรตามกฎหมายใหม่ มีผลอย่างไรต่อผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก
- ความหมายของคำว่า เงินเพิ่ม ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ
- การติดตามค่าภาษีอากรที่ขาดหายตามบทบัญญัติของกฎหมายศุลกากร พ.ศ.2560
- ประโยชน์ของของยกเว้นอากรตามภาค 4 เช่น การนำของออกไปผ่านกรรมวิธีการผลิต (Outward Processing) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้หมุนเวียน
- กระบวนการจัดการกับของที่นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการบริโภคในประเทศ หรือ เพื่อการส่งออก จะมีรูปแบบการดำเนินการอย่างไร
และการใช้ประโยชน์จาก ม.28 เทียบกับ การใช้ คลังสินค้าทัณฑ์บน / เขตปลอดอากร - นำตัวอย่างข้อหารือด้าน ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการนำเข้าส่งออก ที่กรมสรรพากรเผยแพร่มาอธิบายในด้านที่เกี่ยวกับการศุลกากร
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศ / ฝ่ายนำเข้า – ส่งออก
ผู้ที่ต้องดำเนินพิธีการกับกรมศุลกากร และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม
วิทยากร
ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศุลกากร
อัตราค่าสัมมนา
สมาชิกสมาคม 1,200 บาท + VAT 84 บาท จ่ายสุทธิ 1,284 บาท/คน
บุคคลทั่วไป 1,500 บาท + VAT 105 บาท จ่ายสุทธิ 1,605 บาท/คน
(อัตรานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
การยกเลิกการสัมมนา
เนื่องจาก สมาคมได้จัดเตรียมการสัมมนาไว้ล่วงหน้า กรณีที่ท่านสำรองที่นั่งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากท่านประสงค์ยกเลิกการเข้าร่วมสัมมนา กรุณาทำหนังสือยกเลิกกับเจ้าหน้าที่สมาคม ก่อนวันสัมมนา
ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ มิฉะนั้น สมาคมขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าธรรมเนียมจากท่าน 50% ของราคาค่าสัมมนา