หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออก หรือซื้อสินค้าจากประเทศหนึ่งส่งไปขายอีกประเทศหนึ่ง ขั้นตอนมีการสลับซ้อน ประเทศคู่ค้ามีกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานที่กำหนด การใช้เทอมการค้าอย่างไรถึงเหมาะสมให้ได้ประโยชน์ รวมถึงการใช้เครื่องมือในการชำระเงินที่มีความเสี่ยงจะลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างไร และการใช้สิทธิประโยชน์ศุลกากรในเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องในข้อตกลงในเรื่องการค้าเสรี
หลักสูตรนี้นำเสนอเรื่องเทอมการค้าสากล เครื่องมือในการชำระเงิน เทคนิคในการใช้เทอม แนวทางปฏิบัติในการดำเนินการพิธีการศุลกากร การเลือกเงื่อนไขในการประกันภัย การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
หัวข้อการสัมมนา
1.วงจรนำเข้า-ส่งออก
2.ขั้นตอนในการส่งสินค้าออกและนำเข้า
3.สัญญาซื้อขาย สาระสำคัญในการทำสัญญา ข้อควรระวัง การกำหนดเงื่อนไข เทอมการค้าการชำระค่าสินค้า
4.เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ความรับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย (Incoterms ® 2020)
4.1 Rules for any mode or modes of transport
4.2 Rules for sea and Inland waterway of transport
5.เครื่องมือที่ใช้ในการชำระค่าสินค้า หลักการและวิธีการของ
5.1 การชำระเงินด้วยเล็ตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
5.2 ตั๋วเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for Collection)
5.3 การฝากขาย (Consignment)
5.4 ผู้ขายเปิดบัญชีขายเชื่อให้กับผู้ซื้อ (Open Account)
5.5 การชำระเงินล่วงหน้าหรือการชำระด้วยเงินสด (Cash in Advanced)
6.ขั้นตอนในการส่งสินค้า และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการค้าระหว่างประเทศ
6.1 เอกสารทางการเงิน (Financial Document)
6.2 เอกสารทางการขนส่ง (Transport Document)
6.3 เอกสารทางการค้า (Commercial Document)
7.เทคนิคเบื้องต้นในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ Forward Contract, Option, Swap ฯลฯ
8.แนวทางในการเลือกประกันภัยเพื่อคุ้มครองสินค้าที่จัดซื้อจากต่างประเทศ
9.แนวทางในการเลือกวิธีการขนส่งสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศที่คุ้มค่าปลอดภัย ทันเวลา และเหมาะสมกับสินค้า
10.พิธีการศุลกากรขาออก/ขาเข้าและการตรวจปล่อยสินค้า
11.หลักเกณฑ์ในการเสียภาษี การประเมินราคา และการคำนวณค่าภาษีอากร
12.การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อการนำเข้า-ส่งออก เช่น FTA การขอคืนอากรมาตรา 19 ทวิ เขตปลอดอากร(Free Zone) เป็นต้น
13.กรณีศึกษา
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ/เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายนำเข้า-ส่งออก และผู้สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม
การยกเลิกการสัมมนา
เนื่องจาก สมาคมได้จัดเตรียมการสัมมนาไว้ล่วงหน้า กรณีที่ท่านสำรองที่นั่งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วหากท่านประสงค์ยกเลิกการเข้าร่วมสัมมนา
กรุณาทำหนังสือยกเลิกกับเจ้าหน้าที่สมาคม ก่อนวันสัมมนาไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ มิฉะนั้น สมาคมขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าธรรมเนียมจากท่าน 50% ของราคาค่าสัมมนา