หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการประกอบธุรกิจในปัจจุบันทั้งกิจการในประเทศไทยและนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีลักษณะของบริษัทหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันในเครือเป็นกลุ่มๆเพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเวลาส่งผลให้รายการทางบัญชีและการเงินมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจในลักษณะดังที่กล่าวมาจำนวนมากไม่ทราบวิธีการดำเนินการทางบัญชีและการเงิน รวมถึงการใช้หลักฐานและ เอกสารประกอบที่ถูกต้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งได้กำหนดไว้
ปัจจุบัน กรมสรรพากรเริ่มให้ความสำคัญกับรายการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทในเครือเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกิจการที่ดำเนินการผิดพลาดและไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรายการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นและมักเป็นปัญหาอยู่เสมอ เช่น การซื้อขายระหว่างกัน Management fee, Royalty fee, Marketing fee, Technical Service fee การจ่ายเงินปันผล และรายการอื่นๆ โดยแต่ละรายการมักมีปัญหาทั้งในเรื่องของเอกสารประกอบการกำหนดราคา คำอธิบายประกอบไม่ชัดเจน และการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจในเอกสารหลักฐานรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการในหลายๆกิจการที่ทำธุรกรรมในลักษณะข้างต้นยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในเรื่องของราคาโอน (Transfer Pricing)
กรมสรรพากรได้ประกาศพระราชบัญญัติ “มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing)” เพื่อให้เป็นกฎหมายควบคุมผู้ประกอบการให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด
ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเรื่องดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น โดยจะต้องทราบถึงความสำคัญของกฎหมาย เอกสาร หลักฐาน รวมถึงการดำเนินการที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ความเสี่ยงหรือความเสียหายในการประกอบธุรกิจได้
หัวข้อการสัมมนา
1. พระราชบัญญัติ “ มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing)”
2. การเตรียมความพร้อมของกิจการก่อนและหลังการประกาศใช้กฎหมาย (พ.ร.บ. Transfer Pricing)
3. ความสัมพันธ์ของ Transfer Pricing กับบทบัญญัติตามประมวลที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 65 ทวิ (4) มาตรา 71 ทวิ มาตรา 70 ตรี และ ป.113/2545)
4. ลักษณะและปัญหาในทางปฏิบัติของรายการที่เกี่ยวกับ Transfer Pricing พร้อมแนวทางแก้ไข
5. ประเด็นที่กรมสรรพากรตรวจสอบเกี่ยวกับรายการ Transfer Pricing
6. การเลือกวิธีการคำนวณราคาตลาดที่ดีที่สุดตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากร
7. เอกสารที่ต้องจัดเตรียมเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
8. วิธีพิสูจน์ราคาตลาดที่กรมสรรพากรยอมรับ
9. กรณีศึกษา กรณีที่สรรพากรมองว่าเป็นการ Transfer Pricing ระหว่างบริษัท
10. วิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน
11. ปัญหาการบันทึกบัญชีระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน
12. คำพิพากษาฎีกา ข้อหารือภาษีอากร และคำวินิจฉัยกรมสรรพากร
13. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผู้บริหาร ผู้จัดการ / เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี / ฝ่ายการเงิน และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม