หลักการและเหตุผล
ตามที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
และกรมศุลกากรได้กำหนดแนวทางการพิจารณาความผิดทางศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกโดย
จำแนกออกเป็น 7 ประเภทหลักๆ และได้กำหนดระเบียบของการรับโทษหากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจ
นำเข้าส่งออก และนำผ่าน กระทำการใดๆที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าวซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประการด้วยกัน
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรทราบข้อกำหนดหรือกฎระเบียบต่างๆที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด
รวมทั้งความผิดทางศุลกากรที่อาจเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อผู้ประกอบการสามารถลดหรือป้องกันปัญหา
ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายที่เกิดจากความไม่รู้หรือไม่เจตนาได้
หัวข้อสัมมนา
1.ความผิดทางศุลกากรและการระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาลตามหลักกฎหมายศุลกากรฉบับ พ.ศ. 2560
1.1 ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
1.2 ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
1.3 ความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด
1.4 ความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของลักลอบหนีศุลกากร
1.5 ความผิดฐานสำแดงไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์
1.6 ความผิดฐานไม่เก็บรักษาเอกสารทางศุลกากร
1.7 ความผิดเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร
2.แนวทางปฏิบัติ ข้อควรระวัง และวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการศุลกากร
3.กรณีศึกษาความผิดทางศุลกากรและคำพิพากษาศาลฎีกาที่ควรทราบ
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศ / ฝ่ายนำเข้า – ส่งออก
ผู้ที่ต้องดำเนินพิธีการกับกรมศุลกากร เจ้าหน้าที่ประสานงานบีโอไอ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม