หลักการและเหตุผล
สำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์จะเข้ามาประกอบธุรกิจหรือทำงานในประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในการขอใบอนุญาตทำงาน (Work permit) พร้อมจัดเตรียมเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 รวมถึงจะต้องดำเนินการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง เพื่อให้การเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศสูงสุด ตามความในมาตรา 7 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ยึดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีการนำเข้าชาวต่างชาติมาปฏิบัติงานในประเทศไทย จึงควรทราบข้อกำหนดและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดปัญหากรณีชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานหรือทำงานต่อในประเทศไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการได้
หัวข้อการสัมมนา
1. ขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ภายใต้กฎหมายพิเศษตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551
2. ระเบียบ หลักเกณฑ์ การพิจารณาให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย
2.1 กรณีได้รับการส่งเสริมการลงทุน
2.2 กรณีไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
3. บทลงโทษของนายจ้างและคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่
4. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
5. การยื่นขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) เพื่อเข้ามาในราชอาณาจักร และประเภทของวีซ่า
6. การยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
7. การยื่นคำร้องขอสงวนสิทธิการเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร
8. การแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน
9. การแจ้งพ้นหน้าที่
10. การยื่นคำร้องขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการที่มีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ฝ่ายกฎหมาย ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อประสานงานการขออนุญาตทำงานของชาวต่างชาติ โรงงาน/บริษัทที่มีแรงงานคนต่างด้าว เจ้าหน้าที่ประสานงานบีโอไอ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม