หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยกรมศุลกากรได้ใช้พิกัดศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าเพื่อกำหนดอัตราภาษี พิกัดฯ ดังกล่าวถูกปรับปรุงแก้ไขให้มีความทันสมัยทุก 5 ปี สำหรับการแก้ไขรอบล่าสุด (HS2017) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 โดยกรมศุลกากรต้องปฏิบัติตามพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์อาเซียน ซึ่งต้องนำพิกัดศุลกากรอาเซียนฉบับปี 2017 มาใช้
การสัมมนาหลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจในระบบพิกัดอัตราศุลกากรและการแก้ไขปรับปรุง ความแตกต่างและความเชื่อมโยงระหว่างระบบพิกัดสากลขององค์การศุลกากรโลก (WCO) กับพิกัดฮาร์โมไนซ์ของอาเซียน การส่งผลของการเข้าร่วม AEC กับการใช้พิกัดศุลกากรอาเซียน แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อผู้ส่งออกประสบปัญหาศุลกากรวินิจฉัยปัญหาพิกัดต่างกัน ณ ประเทศปลายทาง ทางออกสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเสนอปรับปรุงแก้ไขพิกัดฮาร์โมไนซ์ หรือฮาร์โมไนซ์อาเซียน การค้นหาข้อมูลคำวินิจฉัยพิกัดฯ ขององค์การศุลกากรโลก การยื่นขอคำวินิจฉัยพิกัดฯ ล่วงหน้าเพื่อให้สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว ลดข้อขัดแย้งในการจำแนกประเภทพิกัดของสินค้า ลดภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งจะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและยังส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในตลาดการค้าโลก
หัวข้อการสัมมนา
1. พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ และพิกัดอัตราศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2017
2. หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร และการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากร
3. การนำพิกัดศุลกากรไปใช้ และการระงับข้อพิพาทด้านพิกัดศุลกากร ในเวทีระหว่างประเทศ
4. การแก้ไขปรับปรุงพิกัดอัตราอากรขาเข้า
5. กรณีศึกษา
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายนำเข้า – ส่งออก
ผู้ที่ต้องดำเนินพิธีการกับกรมศุลกากร เจ้าหน้าที่ประสานงานบีโอไอ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม