หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศใช้พระราชบัญญัติ กนอ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ “เขตประกอบการเสรี” จะมา แทนที่ “เขตอุตสาหกรรมส่งออก” นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่ยังเอื้ออำนวยต่อการเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้แก้ไขบทบัญญัติบางประการเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ โดยกรมศุลกากรรับผิดชอบกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อควบคุม ดูแลและรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของรัฐ และเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการทั้งในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตอุตสาหกรรมส่งออก
ในขณะเดียวกัน สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับการประกอบการในเขตปลอดอากรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายศุลกากรก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกับเขตประกอบการเสรี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียด เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ และใช้สิทธิประโยชน์ได้เต็มศักยภาพเหมาะสมกับประเภทกิจการ
หัวข้อการสัมมนา
1. ความหมายของ “เขตปลอดอากร และเขตประกอบการเสรี”
2. สิทธิประโยชน์เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone)
3. สิทธิประโยชน์เขตปลอดอากร (Free Zone)
4. วิธีดำเนินการเพื่อขอใช้สิทธิเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี
5. การปฏิบัติพิธีการศุลกากรในเขตประกอบการเสรีและเขตปลอดอากร
6. การใช้สิทธิประโยชน์เขตปลอดอากร เขตประกอบการเสรี และสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน (BOI) 19 ทวิ คลังสินค้าทัณฑ์บน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
7. สิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษีอากรเฉพาะสำหรับการประกอบธุรกรรมในเขตปลอดอากร และเขตประกอบการเสรี เพื่อการจำหน่ายในประเทศ
8. ภาษีมูลค่าเพิ่มในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี
การสัมมนานี้เหมาะสำหรับ
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายนำเข้า – ส่งออก
ผู้ที่ต้องดำเนินพิธีการกับกรมศุลกากร เจ้าหน้าที่ประสานงานบีโอไอ และผู้ที่สนใจทั่วไป
วิธีการสัมมนา
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม